วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

*** จากอำแดงถึงนางสาว ***

คำนำหน้านามหญิงไทยสามัญในสมัยโบราณก่อนที่จะมีคำว่า นาง หรือ นางสาว นั้น ใช้คำว่า อำแดง และคำว่านอำแดงนั้น พจนานุกรมฯ นิยามว่า เป็นคำโบราณใช้นําหน้าชื่อหญิงสามัญ ชนชั้นทั่วไป คำนี้ใช้ในกฎหมายนําหน้าชื่อหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

แต่ต่อมา อำแดง เลิกใช้ ข้าพเจ้าเดาเอาว่าเป็นเพราะไม่รู้ใช้กับหญิงที่แต่งงานแล้วหรือยังไม่แต่ง มันทำให้สับสน เลย เลิกใช้ หันมาใช้ นางสาว กับนาง เป็นคำนำหน้าชื่อของผู้หญิง แทนเพื่อบ่งบอกสถานะของผู้หญิง


จวบจนถึงวันที่ ๔ มิถุนายนที่ผ่านมา สำนักงานปกครองและทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ได้บังคับใช้พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ทำให้หญิงไทยที่จดทะเบียนสมรสแล้ว มีสิทธิเลือกใช้คำนำหน้าชื่อว่า นาง หรือ นางสาว ได้ตามความสมัครใจ มีใจความว่าดังนี้

1.กรณีหญิงที่จดทะเบียนสมรสใหม่ ให้แจ้งต่อนายทะเบียนขณะที่จดทะเบียนสมรสว่าประสงค์จะใช้คำนำหน้านามว่า นาง หรือ นางสาว นายทะเบียนจะบันทึกไว้ในทะเบียนสมรส แล้วนำหลักฐานทะเบียนสมรสไปแก้ไขในทะเบียนที่สำนักทะเบียนที่หญิงมีชื่ออยู่ แล้วทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ให้

2.กรณีหญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้ว หรือหย่าแล้ว และได้ใช้คำนำหน้านามว่า นาง แล้ว ต้องการจะเปลี่ยนเป็นนางสาวให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนครอบครัว ณ สำนักทะเบียนที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือต่อนายทะเบียนที่จดทะเบียนสมรส นายทะเบียนจะบันทึกในทะเบียนสมรส ครั้งที่ 2 และจะออกหนังสือรับรองให้ เพื่อนำไปแก้ไขในทะเบียนบ้าน และเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ให้ ทั้งนี้ การแก้ไขดังกล่าวไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่จะเสียค่าธรรมเนียมเฉพาะเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ประมาณ 50 บาท



ซึ่งเนื้อหาอ้างอิงมาจาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่28 ก. ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ได้ตีพิมพ์ พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง

พ.ศ.2551 ไว้ดังนี้

พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อย ยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบการใช้คำนำหน้านามหญิงเป็นอ ย่างอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔ หญิงซึ่งมีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว”
มาตรา ๕ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว”ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบีย นครอบครัว
มาตรา ๖ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรี


ทั้งนี้ดิฉันพยายามนึกถึงทั้งข้อดี-ข้อเสีย และติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร เพราะเข้าใจเจตนาดีว่าแต่ละฝ่ายคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม สำหรับหญิงที่ต้องการจะเปลี่ยนคำนำหน้านาม ก็มีข้อควรพึงระวังด้วยเช่นกัน เพราะจะต้องดำเนินการแก้ไขเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น สมุดเงินฝาก โฉนดที่ดิน หนังสือเดินทาง เป็นต้น ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนและวุ่นวายได้ ทั้งนี้ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ได้มีกระแสเสียงวิพากวิจารณ์เป็นอย่างมาก บ้างก็ว่าเป็นผลดีสำหรับคุณผู้หญิง และบ้างก็ว่าใช้คำนำหน้าอย่างเดิมดีอยู่แล้ว

แต่สิ่งที่ดิฉันอยากชวนมองอีกมุมหนึ่ง ก็คือ เรื่องการใช้ชีวิตคู่ในยุคปัจจุบันต่างหากที่นับวันก็ค่อนข้างเปราะบาง มีสภาพปัญหาอยู่มากมาย จำนวนสถิติการหย่าร้าง สภาพความแตกร้าวแตกแยกในครอบครัวก็มากโขอยู่ และเป็นประเด็นปัญหาที่ทำให้เกิดสภาพปัญหาทางสังคมตามมา


นางสาวนัฎฐิกานต์ พลับทอง ( แอ้ )
นักศึกษาปริญญาโทบริการธุรกิจ พ.ศ. 2552

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

2 ความคิดเห็น:

  1. วันนี้ตั้งใจมา'เม้นท์เป็นพิเศษ ( ไม่ได้มาเม้นท์ ให้ตั้งแต่แรกเพราะโดนไฟล์อื่นดักหน้าอยู่ค่ะ)

    เห็นด้วยกับ varayout ค่ะ

    ตอบลบ