วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552



*** ความตายของบุคคลตามกฎหมาย ***

ภาวะสมองตาย (อังกฤษ: brain death) เป็นบทนิยามที่ทางนิติศาสตร์และทางแพทยศาสตร์ใช้หมายเอาการตายของบุคคล ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นในช่วง พ.ศ. 2503 ทั้งนี้ โดยทั่วไปมักหมายเอาภาวะที่ไม่สามารถฟื้นฟูระบบการทำงานของสมองของบุคคลได้อีกแล้ว อันเป็นผลมาจากการตายหมดแล้วทุกส่วนของเซลล์ประสาทในสมอง (อังกฤษ: total necrosis of cerebral neurons) เพราะเหตุที่ได้ขาดเลือดและออกซิเจนหล่อเลี้ยง
ในขณะที่ยังมีการโต้แย้งกันในทางหลักวิชาการแพทย์ซึ่งถือว่าผู้ป่วยสมองตายคือผู้ที่ตายแล้วในทางการแพทย์ กับหลักวิชานิติศาสตร์ที่ยังไม่ยอมรับกันว่าการตายโดยอาการสมองตายนั้น เป็นการตายแล้วอย่างแท้จริงกล่าวคือ

ในทางกฎหมาย นี้มีหลักถือมาช้านานในการพิสูจน์ความตายของบุคคลก็คือ ต้องตายตามธรรมชาติโดยหมดลมหายใจและหัวใจหยุดเต้นอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติแพทย์ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของรัฐและของเอกชนก็ยังมีความจำเป็นต้องยุติการรักษาคนไข้สมองตายต่อไป ด้วยเหตุผลที่อาจสรุปได้ดังนี้
- ประการแรก เป็นเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์เนื่องจากผู้ป่วยประเภทนี้อยู่ในสภาพสิ้นหวังที่จะรักษาให้ฟื้นคืนเป็นบุคคลปกติได้ การรักษาโดยการช่วยต่อชีวิตไปไม่มีที่ยุติย่อมเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งฝ่ายรัฐหรือฝ่ายเอกชน โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนที่ค่าใช้จ่ายย่อมสูงกว่าปกติอย่างแน่นอน
- ประการที่สอง เป็นเหตุผลทางด้านสิทธิมนุษยชนเพราะการที่บุคคลหนึ่งที่มีอาการสมองตายและมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการใช้เครื่องช่วยชีวิตไปตลอดชีวิตนั้น ย่อมก่อให้เกิดความทุกขเวทนามากกว่าจะเกิดประโยชน์แก่บุคคลนั้นเอง และมีผลกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การปล่อยให้เขาหมดสภาพบุคคลไปน่าจะเหมาะสมยิ่งกว่า
ผู้ป่วยที่สมองตาย และแพทย์ได้ทำการยุติการช่วยชีวิตแล้วนั้น สามารถนำอวัยวะไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ตาม "ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ ออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพกรรม พ.ศ.๒๕๒๓" ข้อ๓ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ด้วย
ปัจจุบัน ทั้งทางนิติศาสตร์และทางแพทยศาสตร์ กำหนดให้ภาวะสมองตายเป็นการตายในทางกฎหมายของบุคคล ซึ่งตรงกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ว่าระบบร่างกายทั้งปวงจะค่อย ๆ สิ้นสุดลงซึ่งการทำงานตามลำดับภายหลังจากที่สมองสิ้นสุดการทำงานลง

ด้วยเหตุนี้ แม้บุคคลที่สมองตายแล้วจะดำรงอยู่ได้ด้วยอุปกรณ์ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เช่น การให้ออกซิเจน การใช้เครื่องเปลี่ยนถ่ายโลหิต แต่แพทย์ก็สามารถประกาศได้ว่าบุคคลนี้ถึงแก่ความตายแล้ว

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

*** หมวด 3 มัคคุเทศก์ ***
___________________
มาตรา 39 ห้ามมิให้ผู้ใดเป็นมัคคุเทศก์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากนายทะเบียน
การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และแบบใบอนุญาต ให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 40 ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(3) เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ตามหลักสูตรที่คณะกรรมการรับรอง
(4) ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคติดต่อที่คณะกรรมการกำหนด
(5) ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(7) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
(8) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
มาตรา 41 ถ้าผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 40 แล้วนายทะเบียนต้องออกใบอนุญาตให้โดยเร็ว
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งการออกใบอนุญาตหรือไม่ออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา 39 ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาต
ในกรณีที่นายทะเบียนไม่ออกใบอนุญาต ให้นายทะเบียนแสดงเหตุผลในหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบด้วย
ในกรณีที่นายทะเบียนออกใบอนุญาต ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมารับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการออกใบอนุญาตจากนายทะเบียน และให้นายทะเบียนมอบเครื่องหมายแสดงการเป็นมัคคุเทศก์ ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ผู้ขอรับใบอนุญาต พร้อมกับใบอนุญาต
เครื่องหมายแสดงการเป็นมัคคุเทศก์ซึ่งได้รับใบอนุญาต ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
ถ้าผู้ขอรับใบอนุญาตไม่มารับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่แจ้งเหตุผลหรือข้อขัดข้องให้นายทะเบียนทราบ ให้สันนิษฐานว่าผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะรับใบอนุญาตดังกล่าว และให้นายทะเบียนยกเลิกการออกใบอนุญาตนั้น
มาตรา 42 มัคคุเทศก์ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ การแต่งกาย มารยาท และความประพฤติของมัคคุเทศก์ และต้องติดเครื่องหมายแสดงการเป็นมัคคุเทศก์ที่ได้รับใบอนุญาต และต้องมีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ติดตัวอยู่ตลอดเวลาในขณะปฏิบัติหน้าที่ และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้
ถ้าเครื่องหมายแสดงการเป็นมัคคุเทศก์ซึ่งได้รับใบอนุญาต และหรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ชำรุดสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้มัคคุเทศก์ผู้นั้นยื่นคำขอรับเครื่องหมายดังกล่าวและหรือใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุดสูญหาย หรือถูกทำลายดังกล่าว
การขอรับเครื่องหมายและหรือใบแทนใบอนุญาต และการออกเครื่องหมายและหรือใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 43 ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
มัคคุเทศก์ซึ่งประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อนายทะเบียนก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตแล้วให้เป็นมัคคุเทศก์ต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากนายทะเบียน
ถ้าผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตยังมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 40 นายทะเบียนต้องต่ออายุใบอนุญาตให้
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มัคคุเทศก์ผู้ใดไม่ขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ ให้เลิกเป็นมัคคุเทศก์ตั้งแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ และให้ส่งคืนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์พร้อมกับเครื่องหมายแสดงการเป็นมัคคุเทศก์ซึ่งได้รับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ
มาตรา 44 ในกรณีที่นายทะเบียนไม่ออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือมัคคุเทศก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนต่อคณะกรรมการ โดยยื่นเป็นหนังสือ ต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต หรือการไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจากนายทะเบียน และให้นายทะเบียนเสนอคำอุทธรณ์ดังกล่าวต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ดังกล่าว
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา 45 ในกรณีที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนจากการรายงานของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือจากการร้องเรียนของนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรือเมื่อความปรากฏต่อ นายทะเบียนโดยประการอื่นว่ามัคคุเทศก์ผู้ใด
(1) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ
(2) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามพระราชบัญญัตินี้
ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้โดยมีกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินครั้งละหกเดือน
มัคคุเทศก์ซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจะเป็นมัคคุเทศก์ในระหว่างที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตไม่ได้
มาตรา 46 เมื่อความปรากฏต่อนายทะเบียนว่ามัคคุเทศก์ผู้ใดมีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 40
(2) เป็นผู้เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา 45 มาแล้ว และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 45 (1) หรือ (2) อีก
ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และมัคคุเทศก์ผู้นั้นต้องส่งคืนใบอนุญาตและเครื่องหมายแสดงการเป็นมัคคุเทศก์ ซึ่งได้รับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา 47 คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้มัคคุเทศก์ทราบถ้าไม่สามารถส่งคำสั่งให้มัคคุเทศก์ได้ หรือมัคคุเทศก์ผู้นั้นไม่ยอมรับหนังสือแจ้งดังกล่าว ให้ปิดคำสั่งไว้ ณ ที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายที่สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่ออกใบอนุญาตให้มัคคุเทศก์ผู้นั้นและให้ถือว่ามัคคุเทศก์ผู้นั้นได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือวันที่ปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
มาตรา 48 มัคคุเทศก์ผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา 45 หรือเพิกถอนใบอนุญาต ตามมาตรา 46 มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการ โดยยื่นเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ทราบคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจากนายทะเบียนและให้นายทะเบียนเสนอหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าว
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา 49 ในการออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา 39 หรือใบแทนใบอนุญาตดังกล่าว ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

*** จากอำแดงถึงนางสาว ***

คำนำหน้านามหญิงไทยสามัญในสมัยโบราณก่อนที่จะมีคำว่า นาง หรือ นางสาว นั้น ใช้คำว่า อำแดง และคำว่านอำแดงนั้น พจนานุกรมฯ นิยามว่า เป็นคำโบราณใช้นําหน้าชื่อหญิงสามัญ ชนชั้นทั่วไป คำนี้ใช้ในกฎหมายนําหน้าชื่อหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

แต่ต่อมา อำแดง เลิกใช้ ข้าพเจ้าเดาเอาว่าเป็นเพราะไม่รู้ใช้กับหญิงที่แต่งงานแล้วหรือยังไม่แต่ง มันทำให้สับสน เลย เลิกใช้ หันมาใช้ นางสาว กับนาง เป็นคำนำหน้าชื่อของผู้หญิง แทนเพื่อบ่งบอกสถานะของผู้หญิง


จวบจนถึงวันที่ ๔ มิถุนายนที่ผ่านมา สำนักงานปกครองและทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ได้บังคับใช้พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑ ทำให้หญิงไทยที่จดทะเบียนสมรสแล้ว มีสิทธิเลือกใช้คำนำหน้าชื่อว่า นาง หรือ นางสาว ได้ตามความสมัครใจ มีใจความว่าดังนี้

1.กรณีหญิงที่จดทะเบียนสมรสใหม่ ให้แจ้งต่อนายทะเบียนขณะที่จดทะเบียนสมรสว่าประสงค์จะใช้คำนำหน้านามว่า นาง หรือ นางสาว นายทะเบียนจะบันทึกไว้ในทะเบียนสมรส แล้วนำหลักฐานทะเบียนสมรสไปแก้ไขในทะเบียนที่สำนักทะเบียนที่หญิงมีชื่ออยู่ แล้วทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ให้

2.กรณีหญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้ว หรือหย่าแล้ว และได้ใช้คำนำหน้านามว่า นาง แล้ว ต้องการจะเปลี่ยนเป็นนางสาวให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนครอบครัว ณ สำนักทะเบียนที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หรือต่อนายทะเบียนที่จดทะเบียนสมรส นายทะเบียนจะบันทึกในทะเบียนสมรส ครั้งที่ 2 และจะออกหนังสือรับรองให้ เพื่อนำไปแก้ไขในทะเบียนบ้าน และเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ให้ ทั้งนี้ การแก้ไขดังกล่าวไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่จะเสียค่าธรรมเนียมเฉพาะเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ประมาณ 50 บาท



ซึ่งเนื้อหาอ้างอิงมาจาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่28 ก. ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ได้ตีพิมพ์ พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง

พ.ศ.2551 ไว้ดังนี้

พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อย ยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบการใช้คำนำหน้านามหญิงเป็นอ ย่างอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔ หญิงซึ่งมีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว”
มาตรา ๕ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว”ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบีย นครอบครัว
มาตรา ๖ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรี


ทั้งนี้ดิฉันพยายามนึกถึงทั้งข้อดี-ข้อเสีย และติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร เพราะเข้าใจเจตนาดีว่าแต่ละฝ่ายคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม สำหรับหญิงที่ต้องการจะเปลี่ยนคำนำหน้านาม ก็มีข้อควรพึงระวังด้วยเช่นกัน เพราะจะต้องดำเนินการแก้ไขเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น สมุดเงินฝาก โฉนดที่ดิน หนังสือเดินทาง เป็นต้น ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนและวุ่นวายได้ ทั้งนี้ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ได้มีกระแสเสียงวิพากวิจารณ์เป็นอย่างมาก บ้างก็ว่าเป็นผลดีสำหรับคุณผู้หญิง และบ้างก็ว่าใช้คำนำหน้าอย่างเดิมดีอยู่แล้ว

แต่สิ่งที่ดิฉันอยากชวนมองอีกมุมหนึ่ง ก็คือ เรื่องการใช้ชีวิตคู่ในยุคปัจจุบันต่างหากที่นับวันก็ค่อนข้างเปราะบาง มีสภาพปัญหาอยู่มากมาย จำนวนสถิติการหย่าร้าง สภาพความแตกร้าวแตกแยกในครอบครัวก็มากโขอยู่ และเป็นประเด็นปัญหาที่ทำให้เกิดสภาพปัญหาทางสังคมตามมา


นางสาวนัฎฐิกานต์ พลับทอง ( แอ้ )
นักศึกษาปริญญาโทบริการธุรกิจ พ.ศ. 2552

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@